วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุป ปรัชญาการศึกษา

บทที่ ๒
ปรัชญาการศึกษา

การศึกษาองค์ความรู้ในโลกนี้มีความจำเป็นจะต้องเรียนรู้เกี่ยวปรัชญา ที่จะช่วยกำหนด องค์ความรู้ที่มีต่อการพัฒนาวิชาชีพครู และเป็นตัวบ่งบอกความเชื่อว่า จะแสวงหาความรู้ได้อย่างไร ความรู้ที่เกี่ยวกับความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาล และการศึกษาได้กล่าวถึงความหมายของปรัชญาทั่วไป ขอบเขตของปรัชญา ความหมายปรัชญาการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา ปรัชญาจิตนิยม ปรัชญาวัตถุนิยม ปรัชญาประสบการณ์นิยม ปรัชญาอัตถิวะนิยม ปรัชญาสารัตถนิยม ปรัชญานิรันตรนิยม ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาปฏิรูปนิยม การผสมผสานทฤษฎีต่าง ๆ และปรัชญาการศึกษาไทย

ขอบเขตของปรัชญา
ปรัชญาเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง มีขอบเขตของเนื้อหาสาระ แบ่งออกเป็น 4 แขนงต่าง ๆ ได้ คือ
 1.   อภิปรัชญา (metaphysics) เป็นปรัชญาที่มุ่งศึกษาและค้าหาเกี่ยวกับภาวะความจริงสูงสุด เป็นความจริงพื้นฐานขั้น เป็นการศึกษา 3 เรื่องคือ จักรวาล ภววิทยา ปรัชญาจิต
 2. ญาณวิทยา (epistemology) มุ่งศึกษาที่จะวิเคราะห์หลักหรือทฤษฎีแห่งความรู้ที่มีความสำคัญต่อปรัชญาการศึกษา จะต้องจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนฝึกฝนและค้นหาความรู้และความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิต
 3.   คุณวิทยา (axiology) ปรัชญาแขนงที่มุ่งวิเคราะห์คุณค่าหรือค่านิยมซึ่งเกี่ยวกับความดีและความงาม
 4.   ตรรกวิทยา (logic) ปรัชญาแขนงนี้มุ่งศึกษากฎเกณฑ์การใช้เหตุผล การคิดอย่างมีระบบระเบียบ

ความหมายปรัชญาการศึกษา
เป็นปรัชญาประยุกต์ที่ว่าด้วยอุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยมของการศึกษานำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระและกระบวนการจัดการศึกษา เช่น การศึกษาคือ ชีวิตและกระบวนการชีวิต การศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม และปรัชญาการศึกษาใช้เป็นพื้นฐานการกำหนด กฎทั่วไป การตีความและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
บทบาทหน้าที่ของปรัชญาการศึกษาซึ่งความหมาย ไม่ว่าปรัชญาการศึกษาจะมีความหมายเป็นอย่างไร บทบาทหน้าที่ของปรัชญาการศึกษามี อยู่ 3 ลักษณะคือ
1.      การอนุมาน (Speculative) เป็นความพยายามที่จะวาดภาพรวมหรือวาดแผนที่หรือสร้างกรอบหรือโครงร่างแนวคิดที่มีองค์ประกอบกลมกลืน
2.  การกำหนดรูปแบบ (Normative) เป็นการกำหนดรูปแบบหรือมาตรฐานเรื่องหนึ่งเรื่องใดขึ้นมา เพื่อกำหนดเป็นข้อปฏิบัติ เช่น การกำหนดเป้าหมาย
3.     การวิเคราะห์ (Critical) เป็นการวิเคราะห์หรือการคิดอย่างรอบคอบและมีเหตุผล ซึ่งนักปรัชญาไม่ด่วนสรุปหรือลงความเห็นทันทีทันใด จะต้องพิจารณาอย่างใคร่ครวญทุกแง่ทุกมุม

ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา
    ปรัชญาเป็นการมุ่งศึกษาเรื่องของความจริงสูงสุดของชีวิตทั้งในโลกและจักรวาล ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และวิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงามมีชีวิตที่เป็นสุข ดังนั้นปรัชญาและการศึกษา มีจุดร่วมกัน คือ การกำหนดคุณค่าและรู้จักชีวิตของมนุษย์ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษาว่ามี อยู่ 2 ลักษณะคือ
        ปรัชญาเสนอเป้าหมายของการศึกษาว่าการศึกษาควรเป็นไปเพื่ออะไร ซึ่งปรัชญาอาจจะช่วยกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา
          ปรัชญาวิพากษ์และวิเคราะห์การศึกษาปรัชญาการศึกษาช่วยวิพากษ์และวิเคราะห์สาระและปัญหาของการศึกษาได้
ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กัน ซึ่งการจัดการศึกษาจะต้องอาศัยปรัชญาการศึกษา เป็นตัวกำหนดทิศทางของเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึงจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ ความสัมพันธ์ของปรัชญาการศึกษาพิจารณาได้ 2 ด้านคือ
1. ด้านเนื้อหาสาระของการศึกษาปรัชญาช่วยกำหนดเป้าหมายเพื่อจะมีแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตที่ดี ทั้งปัจจุบันและอนาคต
2.ด้านวิธีการปรัชญาช่วยวิเคราะห์สังเคราะห์ตีความโดยใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาเพื่อจะได้แนวคิดและหลักการทางการศึกษาที่ชัดเจน

ปรัชญาจิตนิยม
ปรัชญาการศึกษาจิตนิยมเป็นแนวความคิดมุ่งพัฒนาจิตที่เน้นคุณธรรมจริยธรรมและคุณความดีที่จะต้องปลูกฝังค่านิยมให้กับผู้เรียนที่เป็นความสุขทางจิตใจเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาตามปรัชญานี้มีข้อควรระวังคือยึดตัวครูเป็นพระเอกอาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายได้

ปรัชญาวัตถุนิยม
ปรัชญาวัตถุนิยมมีความเชื่อว่า วัตถุมีอยู่อย่างอิสระ คุณสมบัติวัตถุมีอยู่ในตัวเอง วัตถุและความคิดมีความสัมพันธ์ต่อกันจิตรับรู้วัตถุได้โดยตรงและโดยอ้อม และบางกลุ่มเชื่อว่า วัตถุแต่ละอย่างปรากฏแก่คนทุกคนเหมือนกันแต่บางกลุ่มเชื่อว่าวัตถุชนิดเดียวกันอาจรับรู้ต่างกัน (representationalism)

ปรัชญาประสบการณ์นิยม
ปรัชญาประสบการณ์นิยม เป็นปรัชญาที่เน้นประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติหรือลงมือทำของผู้เรียนและยึดถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา

ปรัชญาอัตถิภาวนิยม
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมนี้เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาเพื่อเสรีภาพพร้อมที่จะเลือกและรับผิดชอบสิ่งที่ตนเลือก การจัดการเรียนการสอน มุ่งที่จะพัฒนาผู้เรียนดึงเอา ศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวเองออกมา แสดงออกอย่างอิสระ ครูเป็นเพียงที่ปรึกษานักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง

ปรัชญาสารัตถนิยม
ปรัชญาสารัตถนิยม เกี่ยวกับหลักการยอมถูกต้องเสมอไม่มี การเปลี่ยนแปลง สร้างวินัยในตนเอง ครูเป็นผู้ให้ นักเรียนเป็นผู้รับ หลักสูตรเน้นเนื้อหาวิชา และหลักสูตรสหสัมพันธ์ วิธีสอนให้นักเรียนมุ่งรับรู้และจดจำ ใช้การปาฐกถา

ปรัชญานิรันตรนิยม
ปรัชญานิรันตรนิยม เน้นเรื่องคุณงามความดีอันสูงสุด ที่ไม่เปลี่ยนแปลง โรงเรียนส่งเสริมผู้เรียนให้รู้จักคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม เน้นระเบียบวินัย ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ใช้วิธีการบรรยายในการรับรู้ จดจำ ใช้การออกกำลังกลายในการสร้างวินัยผู้เรียน

ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม เน้นประสบการณ์ พัฒนาผู้เรียน ด้านร่างกายอารมณ์ และสังคม ครูเป็นผู้จัดประการณ์หรือกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม อยู่บนพื้นฐานและความสนใจของผู้เรียน ใช้วิธีสอนแบบการแก้ปัญหาตามหลักวิทยาศาสตร์ครูเป็นผู้ช่วยชี้แนะจัดกิจกรรมนอกสถานที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ตรง

ปรัชญาปฏิรูปนิยม
ปรัชญาปฏิรูปนิยมการเรียนรู้ที่มีค่าต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติจริงในชีวิตจริงของผู้เรียนหากสังคมปราศจากศีลธรรม และจุดหมายปลายทางก่อให้เกิดวิกฤตทางสังคมซึ่งการศึกษาจะต้องเป็นหลักของการพัฒนาคือ สร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรม อีกทั้งต้องเตรียมคนสู่สังคมใหม่ โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมอย่างอิสระยืดหยุ่น ผู้เรียนได้รับประสบการณ์และทักษะ ตามวิถีทางประชาธิปไตย

การผสมผสานทฤษฎีต่าง ๆ
การจัดการศึกษาโดยทั่วไปใช้หลักการผสมผสาน (eclecticism) ระหว่างหลักการและทฤษฎีการศึกษา ซึ่งเป็นการคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดของแต่ละทฤษฎีนำมาประมวลเป็นองค์ความรู้และนำมาใช้ในการจัดการศึกษา

ปรัชญาการศึกษาไทย

ปรัชญาการศึกษาไทยใช้หลักการพระพุทธศาสนา ตามแนววิธีพุทธ หรือพุทธธรรม ซึ่งเรียกว่า พุทธปรัชญา (Buddhism) ประยุกต์หรือสร้างปรัชญาตามแนวพุทธธรรม ใช้วิธีปทัสสถาน (normative) คือ เป็นการเสนอวิธีการที่มีอยู่แล้วไม่ต้องคิดวิธีการขึ้นใหม่ และเป็นผู้ที่นำปรัชญาแนวพุทธธรรมมาใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น