วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

คำถามทบทวนบทที่ ๓

คำถามทบทวนบทที่
เรื่อง วิวัฒนาการของการศึกษาไทย

1. แนวคิดทางการศึกษาของไทยยุคก่อนมีระบบโรงเรียน มีสาระสำคัญอะไรบ้าง
         การศึกษาไทยยุคก่อน เป็นการจัดการศึกษาที่ไม่มีระบบและไม่มีแบบแผน คือ ไม่มีระบบโรงเรียน และชั้นเรียน วัดเป็นแหล่งให้ความรู้ มีพระภิกษุเป็นผู้สอนเพียงเพื่อประกอบอาชีพ วิชาความรู้ส่วนใหญ่ที่ถ่ายทอดไม่มีการจดบันทึกไว้ ใช้ความสามารถในการท่องจำมากกว่า

2. สมัยกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยา การจัดการศึกษาเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรอธิบาย
        เหมือนกัน คือการจัดการศึกษายังคงมีวัดเป็นสถานที่ศึกษา มีพระภิกษุเป็นผู้สอนและยังคงมีผู้ชายเท่านั้นที่สามารถเรียน

3. อิทธิพลชาวตะวันตกที่มีผลต่อการศึกษายุคก่อนมีระบบโรงเรียนมีอะไรบ้าง
       อิทธิพลชาวตะวันตกที่มีผลต่อการศึกษายุคก่อนทำให้บาทหลวงสอนศาสนาที่การสอนวิธีเรียนแบบตะวันตกรวมถึงการค้าขายกับชาติตะวันวันตก

4. การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีความก้าวหน้าอย่างไร
       การจัดการศึกษาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงไม่เด่นชัดมากนัก ชาวบ้านที่มีฐานะดีและข้าราชการ นิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาเล่าเรียนที่วัด และการจัดการศึกษาตอนต้นรัตนโกสินทร์ เริ่มนำวิทยาการใหม่ ๆ จัดพิมพ์ตำราเรียน เป็นจุดเริ่มต้นการปฏิรูปการศึกษาของไทย

5. แบบเรียนเล่มแรกของไทยชื่อ เกิดในสมัยใด ตรงกับรัชกาลใด มีที่มาอย่างไร
            หนังสือจินดามณี รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) ฝรั่งเศสได้มาติดต่อค้าขายและได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ ตั้งโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ ประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก และสอนวิชาการแบบยุโรป เกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ต่อเรือ การก่อสร้าง ทำให้พระองค์เกรงว่าคนไทยจะหันไปสนใจเข้ารีตและนิยมฝรั่ง จึงทรงรับสั่งให้พระโหราธิบดี แต่งหนังสือแบบเรียนภาษาไทยเป็นของตนเอง ชื่อ “จินดามณี” ใช้เริ่มอ่านจนกระทั่งหัดเรียนรู้วรรณคดีและอักษรศาสตร์ไทยชั้นสูง จึงทำให้เกิดแบบเรียนเล่มแรกของไทย

6. การจัดการศึกษาภาคบังคับ มีลักษณะเป็นอย่างไร จงอธิบาย ยกเหตุผล
        การศึกษาแบ่งออกเป็นสองภาคคือ ภาคการศึกษาสำหรับทวยราษฎร์ ได้แก่ ประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับ มีความรู้ทั้งฝ่ายสามัญศึกษาและวิสามัญศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อรับผิดชอบชั่วดี และภาคศึกษาพิเศษ เรียกว่ามัธยมศึกษา เรียนทั้งสามัญและวิสามัญ ไม่บังคับให้เรียนทุกคน

7. การจัดการศึกษาที่เรียกว่า มาติกาศึกษา เป็นอย่างไร จงอธิบาย ยกเหตุผล
  1. ตำบลที่เล่าเรียนคือที่ตั้งของวัด
        สถานที่ใช้ในการศึกษาเล่าเรียนกันนั้นคือที่วัด วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนที่ใช่ในการศึกษา     
  2. โรงเรียนคือ ที่เรียนในวัด เช่น หอฉัน หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ กุฏิและวิหาร
       ในการเรียนนั้นจะเรียนกันตามที่ต่างๆในบริเวณวัด เพราะไม่มีห้องเรียน
   3. นักเรียนและครู มี 3 ประเภทคือ ภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด
        บุคคลที่มาศึกษาเล่าเรียนและเป็นอาจารย์ผู้สอนคือภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด
   4. เวลาเรียนคือ ตอนพระว่าง
       ในการเรียนนั้นจะต้องรอให้พระว่างจากการทำกิจสงฆ์ก่อนจึงจะสามารถมาสอนหนังสือ
   5. เครื่องเล่าเรียนคือ กระดานชนวน ดินสอพอ กระดาษข่ายและปากกาไม้ไผ่
       อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน กระดานชนวน ดินสอพอ กระดาษข่ายและปากกาไม้ไผ่
   6. วิชาหนังสือคือ หนังสือเรียนและหนังสืออ่านประกอบ
       หนังสือที่เรียนรู้กันนั้นจะมีหนังสือเรียนและหนังสืออ่านประกอบเพื่อใช้ในการเรียน
   7. วิชาเลขคือ เลขคณิตวิธีต่าง ๆ
       วิชาที่เรียนนั้นจะเกี่ยวกับเลข จะสอนในเรื่องวิธีการคิดต่างๆเกี่ยวกับเลขคณิต
   8. ข้อบังคับการเรียนคือ ระเบียบวินัย การลงโทษ และการชมเชย
       ในการมาศึกษาเล่าเรียนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบกติกาที่ได้กำหนดเอาไว้ ถ้าทำผิดก็ต้องลงโทษว่าไปตามผิด ถ้าทำถูกปฏิบัติถูกต้องก็จะได้รับคมชมเชยในทางที่ดี

8. การจัดการศึกษาที่มุ่งคนเข้ารับราชการตรงกับสมัยใด จงอธิบาย ยกเหตุผล
        การจัดการศึกษาที่มุ่งคนเข้ารับราชการตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทย ที่พระบรมมหาราชวังเป็นโรงเรียนแห่งแรกของไทย มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่   มุ่งที่จะฝึกคนเข้ารับราชการ เรียนภาษาไทย การคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการ

9. การปฏิรูปการศึกษาในยุคปัจจุบันท่านเห็นด้วยหรือไม่ จงอธิบาย ยกเหตุผล
        เห็นด้วย เพราะการปฏิรูปการศึกษาในยุคปัจจุบันจะทำให้เปลี่ยนองค์กร องค์กรและตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ปฏิรูป 3 ระยะคือ จัดตั้งศูนย์ปฏิรูปการศึกษา เปลี่ยนสำนักปฏิรูปเป็นสำนักงานโครงการนำร่อง และประกาศเขตพื้นที่การศึกษาอีกทั้งปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษาทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาและหน่วยปฏิบัติมีอิสระ คล่องตัวมากขึ้นประชาชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมจัดการศึกษา ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานทุกระดับ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นตามศักยภาพ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งหวังของคนไทยในเรื่องของคุณภาพของคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ ซึ่งเพื่อนำพาประเทศไปสู่สากล

10. ท่านเข้าใจการจัดการศึกษาเข้าสู่สมาคมอาเซียน มียุทธศาสตร์ที่สำคัญอย่างไร

           การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน สร้างความตระหนัก หลักสูตรระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่ต้องปรับระดับการศึกษาให้คุณภาพมีระบบมากขึ้น และต้องเตรียมบุคลากรครูและนักเรียนเพื่อรองรับสู่การแข่งขันกับประเทศในอาเซียน และขยายโอกาสทางการศึกษาที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานและเศรษฐกิจของยุคโลกาภิวัฒน์
สมาคมอาเซียน มียุทธศาสตร์ มีอยู่ 4ยุทธศาสตร์ 
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน จัดทำคู่มืออาเซียน ทำหลักสูตรอาเซียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พัฒนาศักยภาพของนักการศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 คุณภาพและโอกาสทางการศึกษา สร้างโอกาสทางการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา บรรลุเป้าหมายเพื่อปวงชน ปีพ.ศ.2558 และเพิ่มคุณภาพการศึกษาการจัดมาตรฐานการศึกษา การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาวิชาชีพครู
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนและการจัดการศึกษาให้มีความเสมอภาค จัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสภาพเศรษฐกิจของยุคโลกาภิวัฒน์

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรรายสาขาอื่น ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษา สนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม การจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ การจัดการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชน การจัดการศึกษาเพื่อป้องกันโรคเอดส์เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น