วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

คำถามทบทวนบทที่ ๓

คำถามทบทวนบทที่
เรื่อง วิวัฒนาการของการศึกษาไทย

1. แนวคิดทางการศึกษาของไทยยุคก่อนมีระบบโรงเรียน มีสาระสำคัญอะไรบ้าง
         การศึกษาไทยยุคก่อน เป็นการจัดการศึกษาที่ไม่มีระบบและไม่มีแบบแผน คือ ไม่มีระบบโรงเรียน และชั้นเรียน วัดเป็นแหล่งให้ความรู้ มีพระภิกษุเป็นผู้สอนเพียงเพื่อประกอบอาชีพ วิชาความรู้ส่วนใหญ่ที่ถ่ายทอดไม่มีการจดบันทึกไว้ ใช้ความสามารถในการท่องจำมากกว่า

2. สมัยกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยา การจัดการศึกษาเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรอธิบาย
        เหมือนกัน คือการจัดการศึกษายังคงมีวัดเป็นสถานที่ศึกษา มีพระภิกษุเป็นผู้สอนและยังคงมีผู้ชายเท่านั้นที่สามารถเรียน

3. อิทธิพลชาวตะวันตกที่มีผลต่อการศึกษายุคก่อนมีระบบโรงเรียนมีอะไรบ้าง
       อิทธิพลชาวตะวันตกที่มีผลต่อการศึกษายุคก่อนทำให้บาทหลวงสอนศาสนาที่การสอนวิธีเรียนแบบตะวันตกรวมถึงการค้าขายกับชาติตะวันวันตก

4. การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีความก้าวหน้าอย่างไร
       การจัดการศึกษาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงไม่เด่นชัดมากนัก ชาวบ้านที่มีฐานะดีและข้าราชการ นิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาเล่าเรียนที่วัด และการจัดการศึกษาตอนต้นรัตนโกสินทร์ เริ่มนำวิทยาการใหม่ ๆ จัดพิมพ์ตำราเรียน เป็นจุดเริ่มต้นการปฏิรูปการศึกษาของไทย

5. แบบเรียนเล่มแรกของไทยชื่อ เกิดในสมัยใด ตรงกับรัชกาลใด มีที่มาอย่างไร
            หนังสือจินดามณี รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) ฝรั่งเศสได้มาติดต่อค้าขายและได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ ตั้งโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ ประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก และสอนวิชาการแบบยุโรป เกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ต่อเรือ การก่อสร้าง ทำให้พระองค์เกรงว่าคนไทยจะหันไปสนใจเข้ารีตและนิยมฝรั่ง จึงทรงรับสั่งให้พระโหราธิบดี แต่งหนังสือแบบเรียนภาษาไทยเป็นของตนเอง ชื่อ “จินดามณี” ใช้เริ่มอ่านจนกระทั่งหัดเรียนรู้วรรณคดีและอักษรศาสตร์ไทยชั้นสูง จึงทำให้เกิดแบบเรียนเล่มแรกของไทย

6. การจัดการศึกษาภาคบังคับ มีลักษณะเป็นอย่างไร จงอธิบาย ยกเหตุผล
        การศึกษาแบ่งออกเป็นสองภาคคือ ภาคการศึกษาสำหรับทวยราษฎร์ ได้แก่ ประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับ มีความรู้ทั้งฝ่ายสามัญศึกษาและวิสามัญศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อรับผิดชอบชั่วดี และภาคศึกษาพิเศษ เรียกว่ามัธยมศึกษา เรียนทั้งสามัญและวิสามัญ ไม่บังคับให้เรียนทุกคน

7. การจัดการศึกษาที่เรียกว่า มาติกาศึกษา เป็นอย่างไร จงอธิบาย ยกเหตุผล
  1. ตำบลที่เล่าเรียนคือที่ตั้งของวัด
        สถานที่ใช้ในการศึกษาเล่าเรียนกันนั้นคือที่วัด วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนที่ใช่ในการศึกษา     
  2. โรงเรียนคือ ที่เรียนในวัด เช่น หอฉัน หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ กุฏิและวิหาร
       ในการเรียนนั้นจะเรียนกันตามที่ต่างๆในบริเวณวัด เพราะไม่มีห้องเรียน
   3. นักเรียนและครู มี 3 ประเภทคือ ภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด
        บุคคลที่มาศึกษาเล่าเรียนและเป็นอาจารย์ผู้สอนคือภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด
   4. เวลาเรียนคือ ตอนพระว่าง
       ในการเรียนนั้นจะต้องรอให้พระว่างจากการทำกิจสงฆ์ก่อนจึงจะสามารถมาสอนหนังสือ
   5. เครื่องเล่าเรียนคือ กระดานชนวน ดินสอพอ กระดาษข่ายและปากกาไม้ไผ่
       อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน กระดานชนวน ดินสอพอ กระดาษข่ายและปากกาไม้ไผ่
   6. วิชาหนังสือคือ หนังสือเรียนและหนังสืออ่านประกอบ
       หนังสือที่เรียนรู้กันนั้นจะมีหนังสือเรียนและหนังสืออ่านประกอบเพื่อใช้ในการเรียน
   7. วิชาเลขคือ เลขคณิตวิธีต่าง ๆ
       วิชาที่เรียนนั้นจะเกี่ยวกับเลข จะสอนในเรื่องวิธีการคิดต่างๆเกี่ยวกับเลขคณิต
   8. ข้อบังคับการเรียนคือ ระเบียบวินัย การลงโทษ และการชมเชย
       ในการมาศึกษาเล่าเรียนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบกติกาที่ได้กำหนดเอาไว้ ถ้าทำผิดก็ต้องลงโทษว่าไปตามผิด ถ้าทำถูกปฏิบัติถูกต้องก็จะได้รับคมชมเชยในทางที่ดี

8. การจัดการศึกษาที่มุ่งคนเข้ารับราชการตรงกับสมัยใด จงอธิบาย ยกเหตุผล
        การจัดการศึกษาที่มุ่งคนเข้ารับราชการตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทย ที่พระบรมมหาราชวังเป็นโรงเรียนแห่งแรกของไทย มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่   มุ่งที่จะฝึกคนเข้ารับราชการ เรียนภาษาไทย การคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการ

9. การปฏิรูปการศึกษาในยุคปัจจุบันท่านเห็นด้วยหรือไม่ จงอธิบาย ยกเหตุผล
        เห็นด้วย เพราะการปฏิรูปการศึกษาในยุคปัจจุบันจะทำให้เปลี่ยนองค์กร องค์กรและตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ปฏิรูป 3 ระยะคือ จัดตั้งศูนย์ปฏิรูปการศึกษา เปลี่ยนสำนักปฏิรูปเป็นสำนักงานโครงการนำร่อง และประกาศเขตพื้นที่การศึกษาอีกทั้งปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษาทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาและหน่วยปฏิบัติมีอิสระ คล่องตัวมากขึ้นประชาชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมจัดการศึกษา ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานทุกระดับ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นตามศักยภาพ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งหวังของคนไทยในเรื่องของคุณภาพของคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ ซึ่งเพื่อนำพาประเทศไปสู่สากล

10. ท่านเข้าใจการจัดการศึกษาเข้าสู่สมาคมอาเซียน มียุทธศาสตร์ที่สำคัญอย่างไร

           การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน สร้างความตระหนัก หลักสูตรระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่ต้องปรับระดับการศึกษาให้คุณภาพมีระบบมากขึ้น และต้องเตรียมบุคลากรครูและนักเรียนเพื่อรองรับสู่การแข่งขันกับประเทศในอาเซียน และขยายโอกาสทางการศึกษาที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานและเศรษฐกิจของยุคโลกาภิวัฒน์
สมาคมอาเซียน มียุทธศาสตร์ มีอยู่ 4ยุทธศาสตร์ 
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน จัดทำคู่มืออาเซียน ทำหลักสูตรอาเซียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พัฒนาศักยภาพของนักการศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 คุณภาพและโอกาสทางการศึกษา สร้างโอกาสทางการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา บรรลุเป้าหมายเพื่อปวงชน ปีพ.ศ.2558 และเพิ่มคุณภาพการศึกษาการจัดมาตรฐานการศึกษา การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาวิชาชีพครู
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนและการจัดการศึกษาให้มีความเสมอภาค จัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสภาพเศรษฐกิจของยุคโลกาภิวัฒน์

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรรายสาขาอื่น ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษา สนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม การจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ การจัดการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชน การจัดการศึกษาเพื่อป้องกันโรคเอดส์เป็นต้น

สรุป วิวัฒนาการของการศึกษาไทย

บทที่ ๓
วิวัฒนาการของการศึกษาไทย

วิวัฒนาการการจัดการศึกษาไทย ได้บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยแต่ละยุคแต่ละสมัย การศึกษาประวัติและวิวัฒนาการศึกษาของไทยที่ผ่านมา เพื่อที่จะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้เรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการจัดศึกษาของไทยยุคสมัยโบราณ การจัดการศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย การจัดการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การจัดการศึกษาของไทยสมัยปฏิรูป ยุคแรกเริ่ม ยุคขยายงาน ยุคแสวงหา ยุคพัฒนา ยุคแห่งความหวัง การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน

แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยโบราณ
การศึกษาไทยยุคสมัยโบราณ จัดการศึกษาที่ไม่มีระบบและแบบแผน คือ ไม่มีระบบโรงเรียน และชั้นเรียน วัดเป็นแหล่งให้ความรู้ มีพระภิกษุเป็นผู้สอนเพียงเพื่อประกอบอาชีพ วิชาความรู้ส่วนใหญ่ที่ถ่ายทอดไม่มีการจดบันทึกไว้ ใช้ความสามารถในการท่องจำมากกว่า ซึ่งการจัดการศึกษาสมัยโบราณไม่มีแบบแผนและรูปแบบที่ชัดเจน จึงทำให้การศึกษาไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมากนัก

การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงสุโขทัย
การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ.1781-1983) การศึกษาที่สำคัญคือ การกำเนิดอักษรไทยครั้งแรกคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สถานที่เรียน 3 แห่งคือ สำนักสงฆ์ต่อมาเป็นวัด อีกแห่งหนึ่งคือ สำนักปราชญ์ราชบัณฑิต และท้ายสุดคือ ราชสำนัก และการจัดแบ่งการศึกษาเป็น 4 องค์คือ
           จริยศึกษา  สอนศีลธรรมจรรยา เน้นหลักพุทธศาสนาแบบหินยาน พระภิกษุเป็นผู้สอน สถานศึกษาที่สำนักสงฆ์หรือวัด เน้นการปฏิบัติ
          พลศึกษา  สอนผู้ชายสำหรับป้องกันตัวใช้ในเวลาศึกสงคราม
          พุทธิศึกษา  ศึกษาจากวัด มีพระภิกษุเป็นผู้สอน การอ่าน เขียน ภาษาไทยภาษาบาลี และวิชาความรู้เบื้องต้น
          หัตถศึกษา  สอนผู้หญิง พ่อแม่ที่มีความรู้ด้านอาชีพ เพื่อเป็นเครื่องมือทำมาหากิน และสืบวงศ์ตระกูล อาทิ งานประดิษฐ์ เย็บปักถักร้อย และทอผ้า

การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310)มีจัตุสดมภ์ 4 คือ เวียง วัง คลัง นา มีระบบศักดินา และการจัดการศึกษาที่วัด และบ้าน มีหน้าที่อบรมเด็กนักเรียน อีกทั้งได้ติดต่อกับฝรั่งชาติตะวันตก ค้าขายและเผยแพร่ศาสนา มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ ประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรกรับวิชาการแบบยุโรป และแต่งแบบเรียนคือ จินดามณี เล่มแรกของไทย

การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-2325) มีการเปลี่ยนแปลงไม่เด่นชัด ชาวบ้านที่มีฐานะดีและข้าราชการ นิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาเล่าเรียนที่วัด และการจัดการศึกษาตอนต้นรัตนโกสินทร์ เริ่มนำวิทยาการใหม่ ๆ จัดพิมพ์ตำราเรียน เป็นจุดเริ่มต้นการปฏิรูปการศึกษาของไทย

แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยปฏิรูป
แนวคิดการปฏิรูปการจัดการศึกษาของไทย เกิดขึ้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และทำให้เกิดระบบโรงเรียนขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งการจัดการศึกษาเดิมอยู่วงจำกัดเฉพาะชาวบ้านที่มีฐานะดีและบุตรข้าราชการ และคนที่ได้รับการศึกษาจึงเป็นคนชั้นสูง ประชาชนโดยทั่วไปขาดโอกาสมากและมีผลจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453)

ยุคแรกเริ่มของการศึกษาไทย: ก้าวแรก
ยุคแรกเริ่มของการศึกษาไทย ก้าวแรก (พ.ศ. 2435-2475) การจัดการศึกษาเป็นรูปแบบที่ชัดเจนคือ “โรงเรียน” และกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่จัดการศึกษา ประกอบกับมีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับสำหรับราษฎรทุกคนทุกพื้นที่ มุ่งจัดการศึกษาเพื่อรับราชการและการประกอบอาชีพตามที่ตนถนัด เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาให้เป็นระบบสู่รูปแบบที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น
ยุคขยายงานของการศึกษาไทย : ก้าวที่สอง
ยุคขยายงานของการศึกษาไทย ก้าวที่สอง (พ.ศ. 2475-2503) การจัดการศึกษาเป็นการขยายการศึกษาภาคบังคับออกให้กว้างขวางขึ้น ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ภายหลังได้มีการเร่งรัดปรับปรุงการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าทุก ๆ ด้าน ไปสู่การพัฒนาประเทศที่มุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

ยุคแสวงหา: เป็นการแสวงหาแนวทางใหม่ในการจัดการศึกษา
ยุคแสวงหา การจัดการศึกษาในปี พ.ศ.2503-2520 ได้ขยายการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลผลักดันให้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1-3 มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ มุ่งพัฒนาคนได้จัดการศึกษาภาคบังคับให้ทั่วถึง และขยายการศึกษาทุกระดับให้มีคุณภาพมาตรฐาน ที่ส่งเสริมด้านจริยธรรม คุณธรรม และมีวินัยรวมทั้งสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ อีกทั้งจัดตั้งมหาวิทยาลัยและ ยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ยุคพัฒนา: การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
ยุคพัฒนา การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (พ.ศ. 2520-2541) ยุคพัฒนา ที่มีความพยายามเพื่อที่จะนำเอาแนวคิดของนักการศึกษาไทยมาใช้ในการจัดการศึกษาของชาติ โดยนำบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทย จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนบริบทของสังคมไทยที่เหมาะสม และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 1-6 จัดให้เป็นระบบสากล ขยายโอกาสทางการศึกษาทุกกลุ่ม อุดมศึกษาขยายไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้นทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อเปิดโอกาสทุกคนทุกอาชีพได้มีความรู้กว้างมากยิ่งขึ้น และมีพระราชบัญญัติการศึกษาครั้งแรก ที่สอดรับกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

ยุคแห่งความหวัง: การปฏิรูปการศึกษา
ยุคแห่งความหวังการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) เปลี่ยนองค์กร เดิม 14 เหลือเพียง 5 องค์กรและตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ปฏิรูป 3 ระยะคือ จัดตั้งศูนย์ปฏิรูปการศึกษา เปลี่ยนสำนักปฏิรูปเป็นสำนักงานโครงการนำร่อง และประกาศเขตพื้นที่การศึกษา อีกทั้งปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา กระจายอำนาจให้สถานศึกษาและหน่วยปฏิบัติมีอิสระ คล่องตัวมากขึ้นประชาชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมจัดการศึกษา ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานทุกระดับ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นตามศักยภาพ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งหวังของคนไทยในเรื่องของคุณภาพของคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ ซึ่งเพื่อนำพาประเทศไปสู่สากล

การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน
การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน (พ.ศ.2558) การเตรียมประเทศเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ที่เกิดจากผู้นำ 5 ประเทศคือ ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ สร้างความตระหนัก หลักสูตรระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เตรียมบุคลากรครูและนักเรียนเพื่อรองรับ และขยายโอกาสทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานและเศรษฐกิจของยุคโลกาภิวัฒน์

คำถามทบทวนบทที่ ๒

คำถามทบทวนบทที่ ๒
เรื่อง ปรัชญาการศึกษา


1. การจัดการศึกษาที่ไม่มีปรัชญาเป็นแนวทางท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
  ไม่เห็นด้วย เพราะปรัชญาเป็นความเชื่อหรือแนวคิดที่แสดงออกมาเป็นอุดมการณ์นำไปกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษา ที่มีทิศทางและวิธีการที่ชัดเจน และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ศึกษา จึงทำให้การจัดการศึกษาต้องมีปรัชญา

2. ปรัชญากับการศึกษาท่านคิดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย
     ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์ในด้านการกำหนดทิศทางรูปแบบและวิธีการศึกษาให้สอดคล้องกับองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้การจัดการศึกษาเกิดประโยชน์มากที่สุดและตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

3. จงวิเคราะห์การจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับ หลักสูตร การจัดเรียนการสอน และการบริการทางการศึกษา ว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่ดำเนินการตามแนวคิดการศึกษาของปรัชญาจิตนิยม วัตถุนิยม ประสบการณ์นิยม อัตภาวนิยม
    ปรัชญาจิตนิยม การเน้นเนื้อหาวิชาทางด้านการพัฒนาความคิดและจิตใจปรัชญาวัตถุนิยม เรื่อง การจัดกิจกรรมทัศนศึกษา การเรียนรู้นอกสถานที่  ประสบการณ์นิยมเรื่อง เน้นการเรียนโดยวิธีการแก้ปัญหาคือเรียนรู้จากสภาพปัญหาจริงอัตภาวนิยมเรื่องมุ่งที่จะพัฒนาผู้เรียนดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวเองออกมาแสดงออกอย่างอิสระ

4. จงบอกหลักการของปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยมคือ สารัตถนิยม และนิรันตรนิยมเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
     แตกต่างกัน ปรัชญาสารัตถนิยม เน้นเรื่อง หลักการยอมถูกต้องเสมอไม่มี การเปลี่ยนแปลง สร้างวินัยในตนเอง ครูเป็นผู้ให้ นักเรียนเป็นผู้รับ หลักสูตรเน้นเนื้อหาวิชา และหลักสูตรสหสัมพันธ์ วิธีสอนให้นักเรียนมุ่งรับรู้และจดจำ ใช้การปาฐกถา ส่วนปรัชญานิรันตรนิยมเน้นเรื่องคุณงามความดีอันสูงสุด ที่ไม่เปลี่ยนแปลง โรงเรียนส่งเสริมผู้เรียนให้รู้จักคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม เน้นระเบียบวินัย ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ใช้วิธีการบรรยายในการรับรู้ จดจำ ใช้การออกกำลังกายในการสร้างวินัยผู้เรียน

5. จงบอกหลักการของปรัชญากลุ่มกลุ่มเสรีนิยม (liber view) คือ พิพัฒนาการนิยม (progressive) และปฏิรูปนิยม (reconstructionism) เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
   เหมือนกัน คือปรัชญาพิพัฒนาการนิยมและปรัชญาปฏิรูปนิยม เน้นที่ประสบการณ์พัฒนาผู้เรียนด้านร่างกายอารมณ์และสังคม ครูเป็นผู้จัดประการณ์หรือกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม อยู่บนพื้นฐานและความสนใจของผู้เรียน ใช้วิธีสอนแบบการแก้ปัญหาตามหลักวิทยาศาสตร์ ครูเป็นผู้ช่วยชี้แนะ จัดกิจกรรมนอกสถานที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ตรง การเรียนรู้ที่มีค่าต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติจริงในชีวิตจริงของผู้เรียน หากสังคมปราศจากศีลธรรม และจุดหมายปลายทางก่อให้เกิดวิกฤตทางสังคมซึ่งการศึกษาจะต้องเป็นหลักของการพัฒนาคือ สร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรม อีกทั้งต้องเตรียมคนสู่สังคมใหม่ โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมอย่างอิสระยืดหยุ่น ผู้เรียนได้รับประสบการณ์และทักษะ ตามวิถีทางประชาธิปไตย

6. จงอธิบายว่า ความดี ความงาม เป็นสิ่งที่วัดได้หรือไม่ จงอธิบาย
     ความดีกับความงาม เป็นสิ่งที่วัดกันไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับจิตใจและการกระทำแต่ละบุคคลว่าใครนั้นคิดดี ประพฤติดี  เพราะแต่ละคนนั้นมีอุดมคติด้านความคิดที่ต่างกัน ไม่เหมือนกัน

7. จงเขียนเรียงความเรื่อง โลกทัศน์ของข้าพเจ้าที่มีต่ออาชีพครู
       คำว่าอาชีพครู คือ อาชีพหนึ่งที่น่าภูมิใจที่ได้เป็นข้าราชการคนของพระราชาที่ได้สอนเด็กให้เป็นผู้มีความรู้ที่ ได้ถ่ายทอดความรู้ ด้วยวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบเพื่อให้เด็กที่เป็นอนาคตของชาติเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
      การที่เราจะเลือกอาชีพครูสิ่งแรกที่เราต้องมีคือใจรักในอาชีพนี้ในการที่เราจะเป็นครูที่ดีเราต้องมีการสอนที่ดีไม่ใช่หมายเพียงแค่เทคนิคการสอนพอผ่านๆ  แต่การสอนที่ดีจะต้องออกมาจาก อัตลักษณ์และจรรยาบรรณของความเป็นครู จากภายในจิตใจของผู้ที่รักในอาชีพครูและเสียสละได้เพื่อนักเรียนและโรงเรียน ความเป็นครูด้วยหัวใจการให้ความรักกับนักเรียน รักที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  รวมถึงรักในชีวิตการสอนนักเรียน ถึงแม้ว่าการเป็นครูจะไม่สบายเหมือนอาชีพอื่น เงินเดือนจะไม่มาก แต่ก็น่าภูมิใจและมีความสุขเมื่อสิ่งที่ได้สั่งได้สอนความรู้ไปนั้นไม่สูญเปล่า
     การที่ข้าพเจ้าเลือกอาชีพครูนั้นเพราะใจรักในอาชีพนี้ ศรัทธาในอาชีพนี้ รู้สึกภูมิใจกับตัวเองมากถ้ามีวันหนึ่งเดินเข้าไปในห้องเรียนแล้วมีนักเรียนบอกว่า “นักเรียนทุกคนทำความเคารพคุณครู” และได้สอนความรู้ที่ข้าพเจ้าศึกษาเรียนรู้มาได้ถ่ายทอดความรู้นี้แก่เด็กทุกคน
    ข้าพเจ้าจะรักและเชิดชูในอาชีพนี้และจะต้องทำความฝันให้เป็นจริง ถึงอุปสรรคข้างหน้าอีกมากมายแค่ไหนข้าพเจ้าก็พร้อมที่จะฝ่าฟันเพื่อเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้คือ การเป็นครูที่ดี

8. ท่านคิดว่าปรัชญาตะวันตกที่เหมาะสมใช้เป็นแนวทางการจัดการศึกษาของไทยมากที่สุด จงอธิบาย
   ไม่เหมาะสมมากนัก เพราะปรัชญาตะวันตกมีการจัดการศึกษาที่ต่างกับของไทยชาวตะวันตกมีการพัฒนามาก่อนเรา แต่เราสามารถนำปรัชญาตะวันตกมาผสมกับการศึกษาไทยเพื่อเป็นแนวทางการศึกษาสมัยใหม่

9. ท่านคิดว่า พุทธปรัชญาจะมาพัฒนาการศึกษาของไทยได้หรือไม่ จงอธิบาย
   ได้ เพราะพุทธปรัชญาจะช่วยเราพัฒนาในด้านการมีสมาธิ มีสติ ในการศึกษาเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการศึกษาเรียนรู้ เช่น ถ้าเราเรียนหนังสือแบบไม่มีสมาธิ ใจลอยในเรื่องอื่นทำให้เราเรียนไปก็ไม่เข้าใจในเรื่องที่เรียน

10. ท่านคิดว่าปรัชญาที่จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ จงบอกชื่อและอธิบายการจัดการสอนที่ยึดเป็นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีวิธีการจัดอย่างไร อธิบายยกตัวอย่าง

    ปรัชญาพิพัฒนนิยม ปรัชญาปฏิรูปนิยม ปรัชญาอัตถิภาวะนิยมปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ ทุกปรัชญาต่างเน้นความสำคัญของผู้เรียน การให้อิสระในการเลือกเรียน การพัฒนาผู้เรียนให้ครบทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา สังคม อารมณ์ และทักษะ กระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียนจะยึดความสนใจ ความสามารถ และความถนัดของเรียนตามวิถีทางประชาธิปไตย โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูจะทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษาและเอื้ออำนวยความสะดวกต่อผู้เรียนให้การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ตัวอย่างเช่น

   การให้นักเรียนไปทำการศึกษาเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้านซึ่งนักเรียนจะต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและจะมีครูหรืออาจารย์จะคอยให้คำปรึกษา ซึ่งการสอนแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาเรียนรู้

สรุป ปรัชญาการศึกษา

บทที่ ๒
ปรัชญาการศึกษา

การศึกษาองค์ความรู้ในโลกนี้มีความจำเป็นจะต้องเรียนรู้เกี่ยวปรัชญา ที่จะช่วยกำหนด องค์ความรู้ที่มีต่อการพัฒนาวิชาชีพครู และเป็นตัวบ่งบอกความเชื่อว่า จะแสวงหาความรู้ได้อย่างไร ความรู้ที่เกี่ยวกับความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาล และการศึกษาได้กล่าวถึงความหมายของปรัชญาทั่วไป ขอบเขตของปรัชญา ความหมายปรัชญาการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา ปรัชญาจิตนิยม ปรัชญาวัตถุนิยม ปรัชญาประสบการณ์นิยม ปรัชญาอัตถิวะนิยม ปรัชญาสารัตถนิยม ปรัชญานิรันตรนิยม ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาปฏิรูปนิยม การผสมผสานทฤษฎีต่าง ๆ และปรัชญาการศึกษาไทย

ขอบเขตของปรัชญา
ปรัชญาเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง มีขอบเขตของเนื้อหาสาระ แบ่งออกเป็น 4 แขนงต่าง ๆ ได้ คือ
 1.   อภิปรัชญา (metaphysics) เป็นปรัชญาที่มุ่งศึกษาและค้าหาเกี่ยวกับภาวะความจริงสูงสุด เป็นความจริงพื้นฐานขั้น เป็นการศึกษา 3 เรื่องคือ จักรวาล ภววิทยา ปรัชญาจิต
 2. ญาณวิทยา (epistemology) มุ่งศึกษาที่จะวิเคราะห์หลักหรือทฤษฎีแห่งความรู้ที่มีความสำคัญต่อปรัชญาการศึกษา จะต้องจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนฝึกฝนและค้นหาความรู้และความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิต
 3.   คุณวิทยา (axiology) ปรัชญาแขนงที่มุ่งวิเคราะห์คุณค่าหรือค่านิยมซึ่งเกี่ยวกับความดีและความงาม
 4.   ตรรกวิทยา (logic) ปรัชญาแขนงนี้มุ่งศึกษากฎเกณฑ์การใช้เหตุผล การคิดอย่างมีระบบระเบียบ

ความหมายปรัชญาการศึกษา
เป็นปรัชญาประยุกต์ที่ว่าด้วยอุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยมของการศึกษานำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระและกระบวนการจัดการศึกษา เช่น การศึกษาคือ ชีวิตและกระบวนการชีวิต การศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม และปรัชญาการศึกษาใช้เป็นพื้นฐานการกำหนด กฎทั่วไป การตีความและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
บทบาทหน้าที่ของปรัชญาการศึกษาซึ่งความหมาย ไม่ว่าปรัชญาการศึกษาจะมีความหมายเป็นอย่างไร บทบาทหน้าที่ของปรัชญาการศึกษามี อยู่ 3 ลักษณะคือ
1.      การอนุมาน (Speculative) เป็นความพยายามที่จะวาดภาพรวมหรือวาดแผนที่หรือสร้างกรอบหรือโครงร่างแนวคิดที่มีองค์ประกอบกลมกลืน
2.  การกำหนดรูปแบบ (Normative) เป็นการกำหนดรูปแบบหรือมาตรฐานเรื่องหนึ่งเรื่องใดขึ้นมา เพื่อกำหนดเป็นข้อปฏิบัติ เช่น การกำหนดเป้าหมาย
3.     การวิเคราะห์ (Critical) เป็นการวิเคราะห์หรือการคิดอย่างรอบคอบและมีเหตุผล ซึ่งนักปรัชญาไม่ด่วนสรุปหรือลงความเห็นทันทีทันใด จะต้องพิจารณาอย่างใคร่ครวญทุกแง่ทุกมุม

ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา
    ปรัชญาเป็นการมุ่งศึกษาเรื่องของความจริงสูงสุดของชีวิตทั้งในโลกและจักรวาล ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และวิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงามมีชีวิตที่เป็นสุข ดังนั้นปรัชญาและการศึกษา มีจุดร่วมกัน คือ การกำหนดคุณค่าและรู้จักชีวิตของมนุษย์ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษาว่ามี อยู่ 2 ลักษณะคือ
        ปรัชญาเสนอเป้าหมายของการศึกษาว่าการศึกษาควรเป็นไปเพื่ออะไร ซึ่งปรัชญาอาจจะช่วยกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา
          ปรัชญาวิพากษ์และวิเคราะห์การศึกษาปรัชญาการศึกษาช่วยวิพากษ์และวิเคราะห์สาระและปัญหาของการศึกษาได้
ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กัน ซึ่งการจัดการศึกษาจะต้องอาศัยปรัชญาการศึกษา เป็นตัวกำหนดทิศทางของเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึงจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ ความสัมพันธ์ของปรัชญาการศึกษาพิจารณาได้ 2 ด้านคือ
1. ด้านเนื้อหาสาระของการศึกษาปรัชญาช่วยกำหนดเป้าหมายเพื่อจะมีแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตที่ดี ทั้งปัจจุบันและอนาคต
2.ด้านวิธีการปรัชญาช่วยวิเคราะห์สังเคราะห์ตีความโดยใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาเพื่อจะได้แนวคิดและหลักการทางการศึกษาที่ชัดเจน

ปรัชญาจิตนิยม
ปรัชญาการศึกษาจิตนิยมเป็นแนวความคิดมุ่งพัฒนาจิตที่เน้นคุณธรรมจริยธรรมและคุณความดีที่จะต้องปลูกฝังค่านิยมให้กับผู้เรียนที่เป็นความสุขทางจิตใจเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาตามปรัชญานี้มีข้อควรระวังคือยึดตัวครูเป็นพระเอกอาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายได้

ปรัชญาวัตถุนิยม
ปรัชญาวัตถุนิยมมีความเชื่อว่า วัตถุมีอยู่อย่างอิสระ คุณสมบัติวัตถุมีอยู่ในตัวเอง วัตถุและความคิดมีความสัมพันธ์ต่อกันจิตรับรู้วัตถุได้โดยตรงและโดยอ้อม และบางกลุ่มเชื่อว่า วัตถุแต่ละอย่างปรากฏแก่คนทุกคนเหมือนกันแต่บางกลุ่มเชื่อว่าวัตถุชนิดเดียวกันอาจรับรู้ต่างกัน (representationalism)

ปรัชญาประสบการณ์นิยม
ปรัชญาประสบการณ์นิยม เป็นปรัชญาที่เน้นประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติหรือลงมือทำของผู้เรียนและยึดถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา

ปรัชญาอัตถิภาวนิยม
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมนี้เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาเพื่อเสรีภาพพร้อมที่จะเลือกและรับผิดชอบสิ่งที่ตนเลือก การจัดการเรียนการสอน มุ่งที่จะพัฒนาผู้เรียนดึงเอา ศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวเองออกมา แสดงออกอย่างอิสระ ครูเป็นเพียงที่ปรึกษานักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง

ปรัชญาสารัตถนิยม
ปรัชญาสารัตถนิยม เกี่ยวกับหลักการยอมถูกต้องเสมอไม่มี การเปลี่ยนแปลง สร้างวินัยในตนเอง ครูเป็นผู้ให้ นักเรียนเป็นผู้รับ หลักสูตรเน้นเนื้อหาวิชา และหลักสูตรสหสัมพันธ์ วิธีสอนให้นักเรียนมุ่งรับรู้และจดจำ ใช้การปาฐกถา

ปรัชญานิรันตรนิยม
ปรัชญานิรันตรนิยม เน้นเรื่องคุณงามความดีอันสูงสุด ที่ไม่เปลี่ยนแปลง โรงเรียนส่งเสริมผู้เรียนให้รู้จักคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม เน้นระเบียบวินัย ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ใช้วิธีการบรรยายในการรับรู้ จดจำ ใช้การออกกำลังกลายในการสร้างวินัยผู้เรียน

ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม เน้นประสบการณ์ พัฒนาผู้เรียน ด้านร่างกายอารมณ์ และสังคม ครูเป็นผู้จัดประการณ์หรือกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม อยู่บนพื้นฐานและความสนใจของผู้เรียน ใช้วิธีสอนแบบการแก้ปัญหาตามหลักวิทยาศาสตร์ครูเป็นผู้ช่วยชี้แนะจัดกิจกรรมนอกสถานที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ตรง

ปรัชญาปฏิรูปนิยม
ปรัชญาปฏิรูปนิยมการเรียนรู้ที่มีค่าต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติจริงในชีวิตจริงของผู้เรียนหากสังคมปราศจากศีลธรรม และจุดหมายปลายทางก่อให้เกิดวิกฤตทางสังคมซึ่งการศึกษาจะต้องเป็นหลักของการพัฒนาคือ สร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรม อีกทั้งต้องเตรียมคนสู่สังคมใหม่ โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมอย่างอิสระยืดหยุ่น ผู้เรียนได้รับประสบการณ์และทักษะ ตามวิถีทางประชาธิปไตย

การผสมผสานทฤษฎีต่าง ๆ
การจัดการศึกษาโดยทั่วไปใช้หลักการผสมผสาน (eclecticism) ระหว่างหลักการและทฤษฎีการศึกษา ซึ่งเป็นการคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดของแต่ละทฤษฎีนำมาประมวลเป็นองค์ความรู้และนำมาใช้ในการจัดการศึกษา

ปรัชญาการศึกษาไทย

ปรัชญาการศึกษาไทยใช้หลักการพระพุทธศาสนา ตามแนววิธีพุทธ หรือพุทธธรรม ซึ่งเรียกว่า พุทธปรัชญา (Buddhism) ประยุกต์หรือสร้างปรัชญาตามแนวพุทธธรรม ใช้วิธีปทัสสถาน (normative) คือ เป็นการเสนอวิธีการที่มีอยู่แล้วไม่ต้องคิดวิธีการขึ้นใหม่ และเป็นผู้ที่นำปรัชญาแนวพุทธธรรมมาใช้