วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุป ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษา


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษา
                
            ในอดีตเราได้ให้ความหมายว่ารศึกษา คือ ชีวิต ความเจริญงอกงาม การแสวงหาความรู้ ตามที่นักวิชาการแบ่งได้เป็น 4 อย่างคือ ความหมายของการศึกษา ตามรากศัพท์เดิม ความหมายตามทัศนะ นักปรัชญาตะวันตก ความหมายตามทัศนะนักการศึกษาไทย และความหมายตามเอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.ความหมายของการศึกษาตามรากศัพท์เดิม
       ความหมายของการศึกษาตามรากศัพท์เดิม มี 4 แบบ สรุปได้ว่า 1 การศึกษา หมายถึง การให้เลี้ยงดูให้เจริญเติบโต2 การศึกษา หมายถึง การที่ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ตามความถนัดและความสนใจ 3 การศึกษา หมายถึง การสอนหรือการให้ การอบรม 4 การศึกษา หมายถึง การมีความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนและการฝึกอบรม
  
2. ความหมายของการศึกษาตามทัศนะนักปรัชญาและนักการศึกษาโลกตะวันตก
   2.1 จอห์น ดิว มีแนวคิด 4 แบบคือ (1) การศึกษา คือ ชีวิต (2) การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม (3) การศึกษา คือ การจัดประสบการณ์ใหม่ (4) การศึกษา คือ กระบวนการ ทางสังคม  2.2 พลาโต ได้กล่าวว่า การศึกษา หมายถึง การที่จะทําให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นสุขและเป็นทุกข์ได้ และพัฒนาสิ่งที่เป็นความงามและสิ่งที่สมบูรณ์ทุกอย่าง
   2.3 เนลเล่อร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการศึกษา เป็นกระบวนการที่ช่วยสร้างจิตใจ นิสัย และความสามารถทางกายให้แก่บุคคล
   2.4 ซูลท์ ได้กล่าวว่า การศึกษาคือ การลงทุน อย่างหนึ่งของมนุษย์เพราะการศึกษาทําให้มนุษย์ได้รับการพัฒนาทุก ๆ ด้าน ทําให้เป็นผู้รู้จักคิดรู้จักรับผิดชอบ
    2.5 สปินด์เลอร์ กล่าวว่า การศึกษา หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม จะเป็นการมุ่งเน้นให้แต่ละคนมีความเป็นตัวของตัวเองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
               
3. ความหมายของการศึกษาตามทัศนะนักการศึกษาไทย
   3.1 พนม พงษ์ไพบูลย์ กล่าวว่า การศึกษามี 3 ประเด็นคือ (1) สร้างคนดีให้สังคม (2) กระบวนการทําให้คนฉลาด (3) ทําให้คนนําความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพได้
   3.2 ประเวศ วะสี กล่าวว่า การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์อยางต่อเนื่องและทุกรูปแบบ และรวมถึงการศึกษานอกระบบโรงเรียน
    3.3 จํารัส นวลนิ่ม กล่าวว่า การศึกษาที่เน้นการพัฒนาไว้ 4 อย่างคือ (1) การศึกษา หมายถึง การเรียน การหาความรู้ การค้นคว้าที่บทบาทผู้เรียนเพราะผู้เรียนจะได้รับการพัฒนา (2) การศึกษา หมายถึง การสอน การอบรม การปลูกฝังนิสัย ทัศนคติและค่านิยม (3) การศึกษา หมายถึง ระบบการศึกษาเล่าเรียน 4) การศึกษา หมายถึง หลักวิชาว่าด้วยการสอนหรือการจัดระบบการศึกษาตลอดจนการค้นคว้าวิจัยเพื่อแสวงหาหลักวิชาเพื่อถ่ายทอดไปสู่ผู้ปฏิบัติ
  3.4 วิทยากร เชียงกูล การศึกษาคือ กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในสังคม ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ที่ถ่ายทอด3.5 ดวงจิต แกวอุบล กล่าวว่า การศึกษา คือ การพัฒนาคนทั้งร่างกาย ความรู้ ความคิด ทักษะ ทัศนคติ และคุณธรรมจริยธรรม ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากบสังคมและอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
  3.6 สาโรช บัวศรี กล่าวว่า การศึกษา คือ การงอกงาม หรือพูด อีกทีหนึ่งก็คือ การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน
           
4. ความหมายของการศึกษาตามเอกสารที่เกี่ยวข้อง
     4.1 แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 ได้ให้ความหมายของคําว่า การศึกษา เป็นกระบวนการที่ทําให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน สามารถดําเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
        4.2 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ให้ความหมายคําว่า การศึกษา ว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
          
 ความมุ่งหมายของการศึกษา
    1. ความหมายของคําว่าความมุ่งหมาย 
 ความมุ่งหมาย หรืออาจเรียกวาจุดมุหมายเป็น สิ่งสําคัญที่สุดในการดําเนินงานทุกชนิด
   2. ลักษณะของความม่งหมายของการศึกษา
แบ่งได้ 2 ลักษณะดังนี้
     2.1 ความมุ่งหมายทั่วไป เป็นความมุ่งหมายที่กล่าวอย่างกว้าง ๆ และครอบคลุมทั้งหมด เช่น ความมุ่งหมายตามแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ เป็นต้น
    2.2 ความมุ่งหมายเฉพาะ เป็นความมุ่งหมายที่แยกย่อยมาจากความมุ่งหมายทั่วไปเป็นเฉพาะเรื่อง เช่น ความมุ่งหมายหลักสูตรแต่ละระดับ เฉพาะรายวิชาหรือเนื้อหาวิชา
3. ระดับความมุ่งหมายของการศึกษา
   3.1 ความมุ่งหมายการศึกษาระดับชาติ ความมุ่งหมายการศึกษาระดับชาติ เป็นระดับสูงสุด มีลักษณะความมุ่งหมายทั่วไปเช่น แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
  3.2 ความมุ่งหมายการศึกษาของแต่ระดับการศึกษา ความมุ่งหมายการจัดการศึกษาของแต่ระดับการศึกษา คือ ระดับการศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษา แต่ละระดับมีความมุ่งหมายดังนี้
                3.2.1 การศึกษาระดับปฐมวัย มุ่งอบรมเลี้ยงดูก่อนการศึกษาภาคบังคับ เพื่อเตรียมตัวเด็กให้มีความพร้อมทุกด้านพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป
                3.2.2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความสามารถสุนทรียภาพ มีความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา มีความเป็นผู้นํา และมีวิสัยทัศน์ มีความรู้และทักษะที่จําเป็น การเรียนรู้ตลอดชีวิต
                3.3.3 ระดับอุดมศึกษา มุ่งพัฒนาความเจริญงอกงามทางด้านสติปัญญาและความคิดเพื่อความกาวหน้าทางวิชาการ มุ่งสร้างสรรค์กาลังคนในระดับวิชาการมุ่งพัฒนาคนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ความเข้าใจในศิลปะ
วัฒนธรรมเพื่อให้สามารถดําเนินชีวิตอันมีคุณค่าแก่บุคคล สังคมและประเทศชาติ
3.3 ความมุ่งหมายการศึกษาระดับหลักสูตร ความมุ่งหมายการศึกษาระดับหลักสูตรเป็นการนําความมุ่งหมายระดับการศึกษา ซึ่งจะถูกนํามาใช้ในหลักสูตรด้วย
3.4 ความมุ่งหมายระดับหมวดวิชา ความมุ่งหมายระดับหมวดวิชา มีเฉพาะและแตกต่างกันออกไปตามเนื้อหาวิชา
3.5 ความมุ่งหมายระดับการสอน ความมุ่งหมายระดับการสอนจะต้องมีความสอดคล้องกันเชื่อมโยงและนําไปสู่ผู้เรียนกับผู้สอนว่าได้บรรลุผลตามที่ต้องการหรือไม่
4. ความมุ่งหมายของการศึกษาตามทัศนะนักการศึกษา
4.1 อริสโตเติล ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาเป็นการสร้างความต้องการให้กับบุคคล ให้ประชาชนมีความคิดที่ดีและแสดงออกการกระทําเป็นผู้ดี
4.2 จอห์น ดิวอี้ กล่าวว่า ความมุ่งหมายของการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย จะต้องมุ่งที่กิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งจะทําให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นผลล่วงหน้า มากกว่าที่จะเป็นความมุ่งหมายที่กาหนดโดยครู
4.3 เดนิลสก์ และลอร์เรนทร์ สมาคมการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของการศึกษา 4 แบบคือ
4.3.1 ความสํานึกแห่งตน เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาด้านการสอบถาม อ่าน เขียน คํานวณ และพักผ่อนหย่อนใจ
 4.3.2 มนุษยสัมพันธ์ เน้นให้ผู้เรียนนับถือผู้อื่นในฐานะเป็นมนุษย์ด้วยกันมีการประสานงานและความร่วมมือซึ่งกันและกัน
4.3.3 มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ เน้นให้ผู้เรียนรู้จักอาชีพและพัฒนาเศรษฐกิจ
4.3.4 มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง เน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักปรับตัว และปฏิบัติต่อสังคม ที่เป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย

5. องค์ประกอบที่ใช้ในการกําหนดความมุ่งหมายของการศึกษา
     องค์ประกอบที่กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษา มีดังนี้
5.1 ปรัชญาการศึกษา เป็นแนวทางที่กำหนดทิศทางตามความมุ่งหมาย ให้การศึกษาดําเนินการไปในแนวทางของปรัชญา
5.2 จิตวิทยาการศึกษา คํานึงถึงผู้เรียนเกี่ยวกับความเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้เรียน
5.3 การจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม สืบสานวัฒนธรรม ปกครองระบอบประชาธิปไตย
5.4 บริบทของชุมชน รวมทั้งฐานะทางเศรษฐกิจของคนในชุมชน แหล่งวิทยากรในชุมชน นํามาใช้ให้เกิดประโยชน์
5.5 ต่างประเทศมีความสัมพันธ์กันทําให้ทราบว่าการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเรา
5.6 เทคโนโลยี เป็นผลทําให้การจัดการศึกษาสะดวกและเป็ นไปอยางรวดเร็ว เปิดโลกการติดต่อสื่อสารได้ทุกมุมของโลก

6. ความม่งหมายของการศึกษาไทยในสมัยต่าง ๆ
        6.1สมัยโบราณ การศึกษาไทยยังไม่ระเบียบแบบแผนที่แน่นอน
                6.1.1 สมัยกรุงสุโขทัย มีความมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนเป็นพลเมืองดี มีศีลธรรม มีศิลปะป้องกนตัวและให้
ประชาชนเรียนรู้อักษรไทย
                 6.1.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความมุ่งหมายในการอบรมศีลธรรมจรรยาความเป็นพลเมืองดี ให้เรียนหนังสือเพื่อ
เป็นนักปราชญ์ และเน้นให้เรียนรู้ อ่านพระไตรปิฎกได้
                6.1.3 สมัยกรุงธนบุรี มีระยะเวลา 14 ปี อยูในภาวะสงคราม จึงมีความมุ่งหมายเน้นให้ประชาชนเรียนรู้ด้านศิลปะการป้องกันตัว
                6.1.4 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1- รัชกาลที่ 4) มีความมุ่งหมายที่ส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้ด้านศิลปศาสตร์เน้นความสามัคคี ปลุกใจให้ประชาชนรักชาติ และมองเห็นความสําคัญของศาสนา
6.2 สมัยปฏิรูปการศึกษาไทยเริ่มมีระบบระเบียบแบบแผนคือจัดสร้างโรงเรียน มีครูสอน ใช้แบบเรียน
6.3 สมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เปลี่ยนการปกครองจากพระมหากษัตริย์ โดยคณะราษฎร มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก
6.4 สมัยพัฒนาการศึกษามุ่งหมายคือให้พลเมืองทุกคน ได้รับการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมและวัฒนธรรม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีสุขภาพสมบูรณ์มีความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย ศาสนาและหลักธรรมให้มีความเข้าใจและกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศตามวิถีทางประชาธิปไตยให้มีความรับผิดชอบ ต่อท้องถิ่น ต่อครอบครัว และต่อตนเอง

ความสําคัญของการศึกษา
          การศึกษาช่วยขัดเกลาให้คนในสังคมละอายต่อบาป ละความเห็นแก่ตัว เป็นพลเมืองดีมีสติสัมปชัญญะการศึกษาช่วยให้มีความรู้ ความชํานาญในการประกอบอาชีพการศึกษาช่วยอบรมบ่มนิสัยให้คุณสมบัติที่ดี เช่น ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ประหยัด พึ่งตนเอง ภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเอง ทํางานร่วมกบผู้อื่นได้เป็นกลุ่มเป็นคณะเป็นหมู่การศึกษาช่วยให้เคารพกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติและปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ของตนเองการศึกษาช่วยให้เกิดความสํานึกที่จะรักษาความมั่นคงเสถียรภาพ เอกราชของ ประเทศชาติการศึกษาช่วยให้รู้จักคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีของชาติ
การศึกษาช่วยให้เกิดความสํานึกเห็นประโยชน์และคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณสมบัติ เพื่อจะได้พยายามใช้อย่างประหยัด และทํานุบํารุงรักษาให้สูญเสียน้อยที่สุด และรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมการศึกษาช่วยให้การดําเนินชีวิตอยางสงบสุข รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและชุมชน รู้จักใช้เวลาวางให้เกิดประโยชน์ สามารถนําข้อคิด ข้อปฏิบัติจากศาสนาที่ตนนับถือมาใช้ในการกาเนินชีวิต

แนวคิดของนักการศึกษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาไทย
    1. โพรทากอรัส ให้ทัศนะการศึกษาว่า บุคคลแต่ละคน
คือมาตรวัดทุกสิ่งทุกอยาง อะไรจะเป็นอะไรย่อมขึ้นอยูกับความเชื่อของแต่ละบุคคล ความรู้ทั้งหลายมาจากประสาทสัมผัสทั้งห้าของแต่ละบุคคล ไม่มีหลักสัจจธรรม อันใด ๆ ที่ใช้ได้กบคนทุกคน บุคคลย่อมตัดสินใจด้วยตนเอง วาจะวางตัวต่อรัฐหรือต่อสังคม
   2. โสกราตีส เป็นบรมครูที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตั้งคําถามว่า อะไรคือความยุติธรรม อะไรคือชีวิตที่ประเสริฐสุด
   3. เพลโต  กล่าววา การศึกษาคือเครื่องมือที่ผู้ปกครองใช้เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยมนุษย์ที่ก่อให้เกิดรัฐที่มีความสามัคคี
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
   4. อริสโตเติล กล่าวว่า การศึกษาคือเครื่องมือของรัฐ จุดหมายการศึกษาคือ การสร้างคุณธรรมที่เกิดจากความรู้และ
ฝึกจิตใจให้มีศีลธรรมจะต้องมีการฝึกภาคปฏิบัติ
   5. จอห์นล็อค  การศึกษา อาจเปลี่ยนคนได้เพราะคนเราถูกปั้นด้วยประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้กรรมพันธุ์ที่มีมาแต่กำเนิด
  6. จอห์น เอมอส คอมินิอุส  จุดมุ่งหมายการศึกษาอยูที่ ความรู้ศีลธรรมและศรัทธา จัดให้ทั้งชายและหญิงทุกคน
  7. ฌอง ฌากส์ รุสโซ การศึกษาต้องยกย่องยกเอกัตภาพของเด็กทุกคนด้วยหลักการสอนที่ว่า ไม่ควรสอนอะไรแก่เด็กเลย
จนกระทังเด็กสามารถเข้าใจตนเอง ควรให้มีการสัมผัสและการใช้เหตุผลให้มากขึ้น
  8. จอห์น ดิวอิ้ กล่าวว่า การศึกษาคือชีวิต เป็น การนําประสบการณ์มาใช้กบชีวิตจริง และความเจริญงอกงามคือ มุ่งพัฒนาผู้เรียนด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
  9. เจอรัลด์ ฟราย  แสดงทัศนคติและมุมมองการปฏิรูปการศึกษาของไทยไว้น่าสนใจคือ จัดการศึกษาตลอดชีวิตให้มากขึ้น ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียม สนับสนุนคนเก่งมาเป็นครู

แนวคิดของนักการศึกษาไทยที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาไทย
  1.พุทธทาสภิกขุ กล่าววา การศึกษาเพื่อมนุษย์จะมีโอกาสได้สิ่งที่ดีที่สุด สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้โดยการทําลายซึ่งสัญชาตญาณอยางสัตว์ แล้วมีการประพฤติกระทําอย่างมนุษย์ที่มีจิตใจสูงโดยสมบูรณ์
  2. สาโรช บัวศร กล่าวว่า การศึกษาคือการงอกงามหรือจัดประสบการณ์ ที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนจะได้งอกงามตามจุดประสงค์ที่วางไว้ และยังกล่าวอีกว่าจะต้องคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งจะต้องจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกบความถนัดและระดับสติปัญญาของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ทั้งด้านวิชาการ คุณธรรม
ศีลธรรม ทักษะต่าง ๆ ด้านวิชาการ วิชาชีพ ที่เหมาะสม
 3. พระธรรมปิกฎ
   3.1 จะต้องรักษาต้นทุนความสุขทั้ง 3 ได้แก่ เด็กรู้จักธรรมชาติและเข้าถึงแหล่งความสุขจากธรรมชาติ ได้สัมผัสธรรมชาติ อยูร่วมกับเพื่อนอย่างเกื้อหนุนเอื้ออาทรต่อกัน
  3.2 การศึกษาที่ดีจะก่อให้เกิดความสุขทุกขั้นตอน ตั้งแต่ฉันทะคือการใฝ่ รู้สร้างสรรค์ทําให้เกิดการอยากรู้อยากทํางานหรือ
  3.3 การศึกษาต้องพัฒนาให้คนรู้เท่าทันกับการพัฒนาวัตถุ พัฒนาเทคโนโลยี ให้รู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือรับใช้ในการกระทํา การทํางานและการเรียนรู้ของมนุษย์
  3.4 พัฒนาความสามารถในการบํารุงจิตใจ ให้มีความสุข ทุกวันนี้เรามักจะปรุงแต่งสร้างสรรค์ในทางที่เป็นทุกข์มากกวา ควรสอนให้เด็กเบิกบาน มองปัญหาเป็ นเรื่องการเรียนรู้ มองความยากเป็นเรื่องของความท้าทาย
  3.5 การศึกษาควรพัฒนาให้เด็กมีอิสรภาพ คือฝึกตนเองให้สัมผัสกบวัตถุและเพื่อน
มนุษย์อย่างมีอิสรภาพ พึ่งพาตนเองได้ คืออยู่กบวัตถุที่เพียงพอกับความต้องการของตนเอง ไม่ปรนเปรอตนเองจนเกินไป สามารถพูดได้วามีก็ได้ ไม่มีก็ได้ และต่อเพื่อนมนุษย์คือ มีศีล 5
 3.6 การศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กให้เกิด โยนิโสมนสิการคือ เกิดปัญญารู้จักคิดถูกวิธีหรือคิดเป็น รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ ตามปัจจัย รู้จักแยกแยะสืบค้นถึงต้นเค้า ซึ่งจะทําให้สามารถแกปัญหาได้ และสิ่งเหล่านั้นก็จะนําตนไปสู่ความสุข
4. ส.ศิวรักษ ได้กล่าวว่าการศึกษาเป็นวิธีการที่สังคมพยายามทําให้กระบวนการเล่าเรียนที่จะนําไปสู่การก่ออุปนิสัยและทัศนะ ตลอดจนการสั่งสอนที่เป็นทางการที่ได้รับจากศาสนาจักรและอาณาจักร และการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการอันได้รับจากสังคมวัฒนธรรม การเมือง ตลอดจนผลได้อันจากการประกอบอาชีพนั้นแหละคือการศึกษา
5. ประเวศ วะส  กล่าววา การศึกษาที่ดีสามารถขจัดทุกข์ของแผนดินมิใช่การท่องหนังสือ มิใช่ทําให้คนทุกข์ยากลําบาก และผลิตคนด้อยคุณภาพที่นําไปสู่ความทุกข์และวิกฤต






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น